ภาพรวมระดับประเทศ

ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ "ก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ

เส้นทางสู่ Net Zero 2065 ของไทย

Net Zero Pathway

DOWNLOAD

ลำดับ รายการ VIEW FILE
1 ระเบียบแบ่งปันคาร์บอนเครดิต (ปม.) Click
2 ระเบียบแบ่งปันคาร์บอนเครดิต (ทช.) Click
3 ระเบียบแบ่งปันคาร์บอนเครดิต (อส.) Click
4 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Link
5 พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Link
6 การประชุมด้านสภาพภูมิอากาศโลก(Conference of Parties: COP) Link

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ

ที่มา: Power BI Climate Data Dashboard

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

การวิเคราะห์ผลกระทบหลายมิติต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคม

อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 1°C ตั้งแต่ปี 1951–2021

ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและรองรับการขยายตัวของเมือง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้น

อุณหภูมิที่สูงขึ้น

  • อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน (>40°C) บ่อยครั้งขึ้น
  • ฤดูหนาวสั้นลงจาก 3 เดือนเหลือ 1-2 เดือน
  • คลื่นความร้อนส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุ
กราฟอุณหภูมิประเทศไทย
แหล่งที่มา : https://climate.nasa.gov

ทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติ

  • ฝนตกหนักและทิ้งช่วงมากขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้งรุนแรง
  • พายุและน้ำท่วมเมืองเกิดขึ้นบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น
น้ำท่วมประเทศไทย
แหล่งที่มาของภาพ : https://www.bbc.com/thai/58992279

ภาคเกษตรกรรม

  • ผลผลิตทางการเกษตรลดลง
  • เกษตรกรรายย่อยเสี่ยงสูงจากภัยแล้งและน้ำท่วม
  • ต้องปรับเปลี่ยนพืชปลูกและวิธีการเพาะปลูก
เกษตรกรรมและภัยแล้ง
แหล่งที่มา : https://tiwrm.hii.or.th

พื้นที่ชายฝั่งและเมือง

  • กรุงเทพฯ จมน้ำ 1-2 ซม./ปี จากการทรุดตัวและน้ำทะเลสูงขึ้น
  • ชุมชนชายฝั่งเสี่ยงถูกน้ำท่วมถาวรภายในปี 2593
  • ระบบสาธารณูปโภคในเมืองรับมือไม่ทันกับฝนหนัก
น้ำทะเลสูงขึ้น
แหล่งที่มา : https://ngthai.com/environment/48740/sealevel/

สรุปผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของประเทศไทย

• การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบางและภาคเกษตรกรรม ซึ่งต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นทุกปี