ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
Climate Change and Environmental Center
ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดัชนีวัดความแห้งแล้ง SPI ได้พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของ Mckee et al (1993) เพื่อเฝ้าดูสภาวะแห้งแล้งในช่วงเวลาต่างๆ ที่กำหนดโดยจากการดูปริมาณฝนสะสม ตั้งแต่ 1 เดือน 2 เดือน ...จนถึง 72 เดือน
ปกติปริมาณฝนทั่วไปจะมีการกระจายในรูปแบบฟังก์ชั่นการแจกแจงแบบแกมมา (Gamma distribution)
แต่เนื่องจากการศึกษาเพื่อหาค่าดรรชนี SPI จะต้องใช้ฝนรวมเป็นหลัก จึงได้พิจารณาโดยใช้ฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นสะสม (Cumulative Probability density function) ของปริมาณฝนรวมแล้วทำการแปลง (Transform) ให้เป็นค่าปกติมาตรฐาน Z ซึ่งจะได้ค่า SPI ที่ต้องการ แล้วนำมาจัดรูปแบบความรุนแรงที่บอกถึงระดับความชุ่มชื้น และความแห้งแล้งของปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่
ตัวอย่างการนำดัชนี SPI ไปใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
ช่วงระยะเวลา
การคาดการณ์ SPI เมื่อมีการใช้มาตรการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยแล้ง
การคาดการณ์ SPI หากไม่มีการใช้มาตรการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยแล้ง
ข้อมูลจากโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารภัยแล้งในอนาคตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดการในชุมชน ได้รับการสนับสนุนดำเนินงานวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และข้อมูล CMIP5 โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)